บริษัท ครีเอทีฟ คาร์บอน แคร์ จำกัด

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER)

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER)

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER)

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย หรือ T-VER คือ โครงการที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก ผ่านหลากหลายประเภทของกิจกรรม

หลักเกณฑ์และระเบียบวิธีการพัฒนาโครงการ T-VER

อบก. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีการในการพัฒนาโครงการ T-VER ในหลายประเภท

  1. พลังงานทดแทน (Renewable Energy) : พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานที่ใช้ทดแทนเชื้อเพลิงหินปูน การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าและการผลิตความร้อน
  2. การขนส่ง (Transport) : การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องยนต์
  3. การจัดการของเสีย (Waste) : การจัดการขยะมูลฝอย การจัดการน้ำเสียชุมชน การนำก๊าซมีเทนกลับมาใช้ประโยชน์ การจัดการน้ำเสียอุตสาหกรรม
  4. กระบวนการอุตสาหกรรม (Factory) : การปรับเปลี่ยนสารทำความเย็นธรรมชาติ การใช้วัสดุทดแทนปูนเม็ด
  5. การใช้ที่ดิน – การเกษตรและป่าไม้ (Land Use – Agriculture & Forestry) : การลด ดูดซับ และการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้และการเกษตร
  6. การใช้พลังงาน (Energy Efficiency) : การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและโรงงานและในครัวเรือน
  7. Carbon capture and utilization (CCUS) : การดักจับ กักเก็บ และการใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก

ทำโครงการ T-VER แล้วได้ประโยชน์อะไร?

การเข้าร่วมโครงการ T-VER ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) มีประโยชน์มากมาย ไม่เพียงแต่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น แต่ยังมีข้อดีอื่นๆ อีกมากมาย

  1. ลดก๊าซเรือนกระจก: ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
  2. เพิ่มแหล่งกักเก็บ: เพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกต้นไม้ อนุรักษ์ และฟื้นฟูป่า
  3. รายงานผลการดำเนินงาน: นำปริมาณคาร์บอนเครดิตไปใช้ในการรายงานผลการดำเนินงานขององค์กรได้
  4. ชดเชยการปล่อยก๊าซ: ใช้คาร์บอนเครดิตในการชดเชยการปล่อยก๊าซขององค์กร ผลิตภัณฑ์ งานอีเว้นท์ และบุคคลได้
  5. ซื้อขายแลกเปลี่ยน: นำคาร์บอนเครดิตไปใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนภายในประเทศ
  6. สร้างภาพลักษณ์ที่ดี: ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร

แชร์บทความ:

Facebook
Twitter
LinkedIn
Email